ลักษณาวดี

ลักษณาวดี
ภาพถ่าย

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ชวนคิดปฏิวัติชีวิต





สวัสดีครับ พบกับ 時々๛༢༠༡༦ कभी कभी 一 อีกเช่นเคยในคอลัมท์ ชวนคิด - ชวนคุย - ชวนลุยเดอะซีรี่ย์วัน - เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็วน่ะครับสงกรานต์ประจำปี 2559 ได้ผ่านไปแล้วและในขณะเดียว กันประเทศญี่ปุ่นก็เกิดแผ่นดินไหวและมี aftershock ตามมายังไม่ทราบยอดผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บและในขณะเดียวกันเทศกาลสงกรานต์ก็มีอุบัติเหตุทำให้คนล้มตายเป็นจำนวนมากในแต่ละปีบางคนอาจคิดว่าพูดถึงความตายอีกแล้วเจอหน้าทีไรพูดถึงเรื่องความตายทุกทีการที่พูดถึงความตายไม่ใช่สิ่งอัปมงคลแต่อย่างใดตรงกันทำให้เรามีสติตั้งมั่นอยู่ในควาไม่ประมาทเราควรจะคิดเช่นนี้จึงจะถูกต้อง

ไม่ควรที่จะหมกมุ่น เพลิดเพลิน มัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวจนกระทั่งไม่คิดถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นสาระในชีวิตเพราะเหตุว่าถ้าจะให้รอไปจนถึงแก่เฒ่าเสียก่อน แล้วจึงจะศึกษาพระธรรมหรือเจริญกุศลเวลาที่ผ่านไปในแต่ละวัน ๆ นั้น ก็จะเป็นการเพิ่มพูนกิเลสให้ยิ่งขึ้น ทำให้การละคลายขัดเกลากิเลสยิ่งยากขึ้น ความตายใกล้ที่สุด อาจจะเกิดขึ้นขณะหนึ่งขณะใดได้ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นผู้ที่ประมาทมัวเมา ไม่คิดถึงว่า จะต้องเป็นผู้ที่จะถึงแก่ความตายจะเร็วหรือช้าก็เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ถ้าไม่ระลึกอย่างนี้

บ้างเลย วันหนึ่ง ๆ ก็ผ่านไปโดยการที่ท่านไม่ได้อบรมเจริญกุศลให้ยิ่งขึ้น เพราะเหตุว่าเรื่องของอกุศลจิตนี้มีปัจจัยพร้อมที่จะเกิดอยู่เสมอ แต่เรื่องของกุศลนาน ๆ ก็จะมีโอกาสมีปัจจัยที่จะเกิดขึ้น วันหนึ่ง ๆ อยู่ไปอย่างไรก่อนที่จะตายจากโลกนี้ คือ ทุกคนเกิดมาแล้วตายไม่ได้ ถ้ายังไม่ถึงเวลาที่จะตาย ใครจะทำให้ตายก็ตายไม่ได้ เพราะเหตุว่าจุติจิตเป็นผลของกรรมจุติจิตเป็นวิบากจิต เพราะฉะนั้นคนที่เกิดมาแล้วก็ต้องอยู่ไป แต่ว่าการอยู่ไปแต่ละวัน ๆ จะอยู่ไปอย่างไรก่อนที่จะตายจากโลกนี้ เราควรใช้ชีวิตของเรา ด้วยท่าทีอย่างไรและจบลงอย่างไร เราอาจถามคำถามนี้กับตัวเราเองบ่อย ๆ จุดที่เราควรตระหนักรู้ ภาระหน้าที่เฉพาะเพื่อขัดเกลา ชีวิตของเรา คือ เวลาที่มีขีดจำกัดที่จะอยู่บนโลกใบนี้





เซียนแปะ





วันนี้ 30 November 2017 ตั้งใจว่าจะ Relax ซ่ะหน่อยก็เลยเดินออกกำลังกายไปเรื่อย ๆ ใช้เวลาเดิน 6 - 8 ชั่วโมงไปถึงท่ามหาราชใกล้ ๆ ท่าพระจันทร์เดินดูของไปเรื่อย ๆ ก็เห็นมีหลายร้านที่มีขายลอคเก็ต ของอาแปะ โง้วกิมโคย ราคาแต่ละร้านไม่เท่ากันรูปถ่ายของอาแปะก็มี ราคา 100 บาท ต่ำสุด 30 บาทในเว็บ ฯ นักเล่นพระขายกัน 10,000 กว่าบาทก็มีแต่ผมไปได้เหรียญของอาแปะรุ่น 1 มาราคา 20 บาทถูกอย่างเหลือเชื่อเพราะเป็นของเก๊ ความจริงแล้วผมตั้งใจจะไปซื้ออาหาร เจ เพราะว่าตอนกลางวันผมกินข้าวต้มร้อน ๆ มีเต้าฮู้ยี้แล้วก็หนำเลี้ยบอร่อยอย่าบอกใครเชียวได้เหรียญของอาแปะ โง้วกิมโคยมาในราคา 20 บาทเผื่อว่าอาแปะโง้วกิมโคยจะคุ้มครองบ้างให้อยู่รอดปลอดภัยจาก(ภัย)อันตรายที่เกิดจากน้ำมือคนชั่ว

ประวัติของอาแปะ โง้วกิมโคย

ลอคเก็ตหินรุ่นแรก รูปไข่ เซียนแปะโรงสี(อ.โง้วกิมโคย) ท่านอาจารย์โง้วกิมโคย (แปะโรงสี)จอซัวแปะ นาย กิมเคย แซ่โง้ว เกิดที่ประเทศจีน ตำบลเท้งไฮ้ ได้เข้ามาประเทศไทย ตั้งแต่เด็ก อายุประมาณ 10 ปีเมื่อเติบโตพอที่จะประกอบอาชีพได้ ก็ได้รับจ้างทั่วไปรวมทั้งค้าข้าวเปลือก กิจการค้าข้าวเปลือกดีขึ้น จึงได้ร่วมหุ้นทำกิจการโรงสีข้าวที่ปากคลองบางโพธิ์ล่าง ปัจจุบันเป็นตำบลบางเดื่อ จังหวัดปทุมธานี และเมื่ออายุประมาณ 22 ปี ได้สมรสกับนาง นวลศรี เอี่ยมเข่ง มีบุตรด้วยกัน 10 คนคือ

1. นายเซียมจึง สมบูรณ์ธีระ
2. เสียชีวิตตอนเด็ก
3. นายธนิศ ทองศิริ
4. เสียชีวิตตอนเด็ก
5. นางยุพา แซ่แต้
6. นายรัตน์ ทองศิริ
7. นางยุพิน ภิญโญชีพ
8. เสียชีวิตตอนเด็ก
9. เสียชีวิตตอนเด็ก
10. นางยุวดี ทองคำปั้น พร้อมทั้งได้ย้ายมาประกอบกิจการโรงสีไฟของตนเอง ที่ปากคลองเชียงรากเยื้อง ๆ กับวัดศาลเจ้า โรงสีตั้งอยู่บนตำบลบางกะดี ในนามของ โรงสีไฟทองศิริ และได้โอนสัญชาติไทย พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น นายนที ทองศิริกิจการโรงสีดีขึ้น และมั่นคงขึ้นมาก เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เรียกขนานนามท่านว่า เถ้าแก่กิมโคย หรือ แปะกิมโคย แม้ว่าท่านจะเป็นคนจีนดั้งเดิมแต่ท่านก็ชอบทานหมากพลู เช่นชาวไทยทั่วไปในยุคนั้นหน้าวัดศาลเจ้า ริมแม่น้ำเจ้าพระยา กระแสน้ำเชี่ยว และเป็นวังวนมีศาลเจ้าไม้เล็กๆอยู่(ตามประวัติศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้า) ซึ่งชาวบ้าน เรียกว่า ศาลเจ้าพ่อปู่ ชาวจีนเรียกว่า ปึงเถ่ากงม่า เมื่อท่านมีเวลาจะมาบูรณะ และคลุกคลีอยู่ที่ศาลเจ้าเป็นประจำ เนื่องจากท่านเป็นคนชอบช่วย

เหลือคน ชอบทักทาย และชี้แนะให้ทุกคนประกอบแต่ความดี เป็นที่เคารพและศรัทธาของผู้คนทั่วไปในช่วงนั้นการคมนาคมยังไม่สะดวก ส่วนใหญ่การเดินทางจะเป็นทางน้ำ การบูรณะศาลเจ้าพ่อศาลเจ้าจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่ท่านก็ได้ดำเนินการอย่างไม่หยุดหย่อน และได้ใช้การพายเรือไปช่วยเหลือผู้คนตามสถานที่ต่างๆ จึงมีผู้มีจิตศรัทธาช่วยท่านให้สามารถบูรณะศาลเจ้าพ่อศาลเจ้าไม้เล็ก ๆ ริมน้ำมาเป็นศาลเจ้าที่เป็นเรือนไม้ขนาดใหญ่ได้นอกจากการบูรณะศาลเจ้าแล้ว ท่านยังเป็นผู้กำหนดวันในการจัดงานประจำปีของศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้าเป็นวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 1 ถึงวันขึ้น 8 ค่ำเดือน1 รวม 4 วัน 4 คืน ซึ่งทางชาวจีนเรียกช่วงนี้ว่า เจียง่วย ชิวโหงว ถึง เจียง่วย ชิวโป้ย และถือเป็นประเพณีตลอดมาในการจัดงานประจำปี บางปีจะมีลมฝนมืดครึ้มคาดคะเนกันว่าจะมีพายุใหญ่ ท่านก็จะจุดธูปเพื่อปัดเป่าลม

ฝนไป ซึ่งฝนก็จะไม่ตก ท้องฟ้าแจ่มใส ผู้คนที่พบเห็นแจ้งว่าท่านอยู่ ระหว่าง เข้าทรงโดยเชื่อว่าท่านมีองค์ประทับอยู่ และยังเชื่อกันอีกว่าองค์ที่ประทับอยู่นั้นเป็นเจ้าพ่อปู่ของศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้านั่นเอง เมื่อผู้คนที่มีความเชื่อมั่นและศรัทธา ขยายวง กล่าวออกไปในหมู่พ่อค้าทุก ๆ วงการค้า ทำให้ท่านมีศิษย์มากขึ้นและต่างเรียกท่านว่า หวยลั้งเซียนเมื่อการคมนาคมสะดวกขึ้น ผู้ที่ศรัทธาท่านจากแหล่งต่าง ๆ มาพบท่านและให้ท่านช่วยเหลือ ชี้แนะเกี่ยวกับฮวงจุ้ย ที่ตั้งบริษัท บ้าน ห้างร้าน และดูทำเลที่ตั้งฮวงซุ๊ยของบรรพบุรุษ ท่านก็ไปให้คำแนะนำ และชี้แนะทุกรายไป แม้กระทั่งไปยังต่างประเทศ ท่านก็ยังขึ้นเครื่องบินไปตามคำร้องขอซึ่งต้องจัดเตรียม หมากพลูไปด้วย ท่านช่วยเหลือบรรดาศิษย์ทุก ๆ ท่าน โดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย และไม่มีค่าตอบแทนใดๆ ผู้ที่ท่านชี้แนะมักประสพความสำเร็จในธุรกิจ กิจการรุ่งเรื่องเป็นที่รู้จักในวงการค้าทั่วไป พร้อมทั้งบอกเล่าต่อๆกันไปผู้ที่เคารพศรัทธาเรียกท่านว่า อาแปะ พร้อม

ทั้งขนานนามท่านว่า เซียนแปะ จนกระทั่งทุกวันนี้เมื่อประมาณปี พ.ศ.2518 ท่านได้ก่อสร้องตึกศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้าใหม่ โดยปรับปรุงจากเรือนไม้เป็นอาคาร 8 เหลี่ยมทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้ที่ ศรัทธาท่านและศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย ทุกๆวงการรวมทั้งบุตรหลานในครอบครัวของท่าน โดยใช้เงินในการก่อสร้างกว่า 7 แสนบาท ก่อสร้างเสร็จเมื่อต้นปี พ.ศ.2519 พร้อมทั้งทำพิธีเปิดในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2519เซียนแปะ เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายผ่ายผอมลง หลังโค้งงอ แต่ก็ยังคงช่วยเหลือชี้แนะบรรดาศิษย์และผู้คนทั่วไปโดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย เช่นที่เคยปฏิบัติมาตลอด อย่างเสมอต้นเสมอปลาย จนเป็นที่

เคารพรักของบรรดาศิษย์ทุกคน จนกระทั่งอายุ 85 ปี เมื่อปลายปี พ.ศ.2525 ท่านเริ่มมีอาการอ่อนเพลียจนต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลพญาไทจนถึงเวลา 05.30 น.ของเช้าวันที่ 16 มกราคม 2526 ท่านก็ได้จบชีวิตลง จากครอบครัว และบรรดาศิษย์ทุกคนไปด้วยความสงบ นับเป็นการสูญเสียที่ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ หลังจากเสร็จพิธีงานศพท่าน บรรดาศิษย์ และครอบครัว ได้ทำการก่อสร้างศาลาเอนกประสงค์ไว้ที่หลังศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้าโดยใช้ชื่อว่า ศาลานทีทองศิริ พร้อมทั้งตั้งรูปปั้นจำลองขนาดเท่าตัวจริง เพื่อไว้ให้เป็นที่สักการะ และเป็นที่พึ่งทางจิตใจแก่บรรดาศิษย์และผู้คนทั่วไป

วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

best of the best for people





วันนี้(27 November 2017)10.30 น.ไปตรวจลูกตาที่โรงพยาบาลไม่น่าเชื่อว่าได้กลับบ้านเร็วหรือว่าเราฝันไปปกติต้องใช้เวลา 1 วันเต็ม ๆ อากาศช่วงนี้ไม่ค่อยร้อนทำไมพูดถึงเรื่องอากาศบ่อย ๆ ก็เพราะว่าสภาพอากาศมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตโดยตรงสังเกตุชาวต่างประเทศที่มีถินฐานอยู่ใน Zone อากาศเย็น ๆ ประเทศเขาจะเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างยิ่ง ประเทศไทยถ้าไปเปรียบเทียบกับเขาก็ห่างกันราวฟ้ากับเหวไปถ่ายรูปของวัดซิกข์มาเก็บไว้นานแล้วพูดถึงประเทศอินเดีย ประเทศเขามาอารยธรรมเก่าแก่มาหลายพันปีและมีวัฒนธรรมประเพณีสืบทอดกันมายาวนานที่สำคัญคือศาสนาพุทธมีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย

หมายเหตุ....เวลาได้ฟังเพลงเพราะ ๆ แล้วรู้สึกหัวใจปลาปปลื้มทำมีกำลังใจสู้ชีวิตมันเป็นอาหารใจเป็นแรงผลักดันมันเป็นแรงกระตุ้นให้เรามีชีวิต - ชีวาเสียงเพลง - ภาพยนต์ดีย่อมเป็นแรงบันดาลใจเราได้เป็นการผ่อนคลายเป็นการกระตุ้นปลุกเร้าให้เราฮึดสู้ชีวิต

ผู้มีชัยชนะที่แท้จริงคือผู้ที่สามารถกล่าวได้ว่า ฉันได้ทำอย่างดีที่สุดเท่าที่ฉันทำได้ การทักทายที่ร่าเริงสดใสจะเปิดประตูหัวใจของผู้อื่นขอให้พยายามพูดกับผู้อื่นด้วยรอยยิ้มสดใสและเป็นมิตรเสมอเพื่อนดีที่ไว้ใจได้เป็นทรัพย์สมบัติที่มีค่าที่สุดเท่าที่เราสามารถจะมีได้ในชีวิต เพราะต้นไม้เผชิญกับความหนาวเย็นของฤดูหนาว จึงเบ่งบานอย่างงดงามและส่งกลิ่นหอมในฤดูใบไม้ผลิ ไม่ว่าจะรับกับความหนาวเย็นอย่างไร ต้นไม้ก็รอคอยอย่างอดทน ช้าแต่แน่นอนค่อย ๆ ดูดซึมสารอาหารที่ต้องการในทุกวงการของชีวิต การท้าทายและวิกฤติทำให้เราเข้มแข็งขึ้น(สนทนาเพื่ออนาคต บนหนทางแห่งชัยชนะร่วมกัน จงเดินบนหนทางแห่งการปรับปรุงตนเอง)

  SGI INTERNATION BUDDHISM SGI INTERNATION BUDDHISM SGI INTERNATION BUDDHISM SGI INTERNATION BUDDHISM SGI INTERNATION BUDDHISM SGI INTERNATION BUDDHISM SGI INTERNATION BUDDHISM SGI INTERNATION BUDDHISM SGI INTERNATION BUDDHISM SGI INTERNATION BUDDHISM SGI INTERNATION BUDDHISM SGI INTERNATION BUDDHISM SGI INTERNATION BUDDHISM SGI INTERNATION BUDDHISM SGI INTERNATION BUDDHISM SGI INTERNATION BUDDHISM SGI INTERNATION BUDDHISM SGI INTERNATION BUDDHISM SGI INTERNATION BUDDHISM SGI INTERNATION BUDDHISM SGI INTERNATION BUDDHISM SGI INTERNATION BUDDHISM SGI INTERNATION BUDDHISMSGI INTERNATION BUDDHISM SGI INTERNATION BUDDHISM SGI INTERNATION BUDDHISM SGI INTERNATION BUDDHISM